ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของฉัน
สวิวดาวค่ะ

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

LINE

LINE คือแอพพลิเคชั่นที่ผสมผสานบริการ Messaging และ Voice Over IP นำมาผนวกเข้าด้วยกัน จึงทำให้เกิดเป็นแอพพลิชั่นที่สามารถแชท สร้างกลุ่ม ส่งข้อความ โพสต์รูปต่างๆ  หรือจะโทรคุยกันแบบเสียงก็ได้  โดยข้อมูลทั้งหมดไม่ต้องเสียเงิน หากเราใช้งานโทรศัพท์ที่มีแพคเกจอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว แถมยังสามารถใช้งานร่วมกันระหว่าง iOS และ Android รวมทั้งระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ได้อีกด้วย การทำงานของ LINE นั้น มีลักษณะคล้าย ๆ กับ WhatsApp ที่ต้องใช้เบอร์โทรศัพท์เพื่อยืนยันการใช้งาน แต่ LINE ได้เพิ่มลูกเล่นอื่นๆ เข้ามา ทำให้ LINE มีจุดเด่นที่เหนือกว่า WhatsApp มาดูคุณสมบัติเด่น ๆ ที่น่าสนใจของ LINE กัน

Free Voice Calls  (สนทนาด้วยเสียง ฟรี)


LINE
 
          จุดเด่นอย่างหนึ่งของ LINE นั้นก็คือบริการ Free Voice Calls ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถโทรหาผู้ที่ใช้ LINE ด้วยกัน โดยใช้งานผ่านเครือข่าย 3G และ Wi-Fi เพื่อส่งข้อมูลรูปแบบเสียง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ

Send Videos & Voice Message (ส่งข้อความแบบวิดีโอและเสียง)

          นอกจากการแชทด้วยการส่งข้อความแบบปกติแล้ว LINE ยังสามารถอัดภาพวิดีโอหรือเสียงแล้วส่งไปให้เพื่อน ๆ ได้อีกด้วย โดยสามารถส่งได้เป็นคลิปวิดีโอหรือเสียงในแบบสั้น ๆ ความยาวไม่กี่วินาที

Stickers and Emoticons (สติกเกอร์การ์ตูนน่ารัก ๆ)

LINE
 
          อีกหนึ่งความสนุกของแอพฯ แชททั่วไปที่ขาดไม่ได้ก็คืออีโมติคอนน่ารัก ๆ ที่ช่วยเพิ่มสีสันให้การแชทสนุกสนานยิ่งขึ้น และสำหรับ LINE มีทั้ง Stickers และ Emoticons รูปแบบต่าง ๆ และยังเลือกดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้อีกด้วย ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนติดอกติดใจกับ Stickers และ Emoticons น่ารัก ๆ ของ LINE

Customizable Wallpaper (ปรับแต่งภาพวอลเปเปอร์)

LINE

          LINE สามารถเปลี่ยน Wallpaper ในหน้าต่างแชทได้ โดยแอพฯ จะมีภาพ Wallpaper มาให้ทั้งหมด 23 แบบ และสามารถเพิ่ม Wallpaper ที่ต้องการ โดยนำรูปที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือมาใช้งานเป็น Wallpaper ได้

Group Chat (แชทแบบกลุ่ม) 


LINE

          LINE สามารถสร้างกลุ่มเพื่อพูดคุยกันได้ หากมีก๊วนเพื่อนสนิท ต้องการความเป็นส่วนตัว อยากคุยเฉพาะกลุ่ม LINE เราก็สามารถสร้างกลุ่มเอาไว้พูดคุยได้  

Timeline



          LINE มีความเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กในตัว มี Timeline ให้สามารถอัพเดทสเตตัส, โพสต์รูป, คอมเม้นท์ หรือกดไลค์ได้เหมือนกับเฟซบุ๊กเลยทีเดียว

Game


          LINE มีเกมในเครือให้ดาวน์โหลดมาเล่นได้มากมาย ซึ่งจะใช้บัญชีของ LINE ในการเล่นที่สามารถเล่นแข่งขันกับเพื่อน ๆ ใน LINE ได้อย่างสนุกสนาน

Add Friends / Contacts



LINE

อีกหนึ่งลูกเล่นที่ทำให้ LINE แตกต่างจาก WhatsApp นั้นก็คือการเพิ่ม Contacts ที่เลือกได้ 4 รูปแบบ 

 1. เพิ่ม Contacts จากรายชื่อในโทรศัพท์หากมีเพื่อนคนไหนใช้แอพฯ นี้อยู่ จะมีสัญลักษณ์ LINE แสดงให้เห็นและสามารถเพิ่มเป็นเพื่อนได้ทันที

 2. QR Code สามารถสแกน QR Code ของเพื่อนเราเพื่อเพิ่มเป็นเพื่อนและสามารถสร้าง QR Code ของเราเอง เพื่อใช้สำหรับให้เพื่อน ๆ คนอื่น มาสแกน QR Code เพื่อเพิ่มเพื่อนใน LINE

 3. Shake it! เขย่าโทรศัพท์มือถือ เป็นวิธีการแอดเพื่อนที่เจ๋งสุด ๆ ของ LINE ใช้ในกรณีที่ทั้งสองโทรศัพท์สองเครื่องอยู่ด้วยกัน เมื่อเขย่าเครื่องพร้อม ๆ กัน ก็สามารถเพิ่มเป็นเพื่อนกันได้

 4. Search by ID คือ เราสามารถค้นหาเพื่อนได้จาก ID (คล้าย ๆ กับ PIN ของ BB) โดยการพิมพ์ ID ของเพื่อนที่ต้องการ
       
 
          สรุปแล้ว LINE เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับแอพพลิเคชั่นสำหรับแชท ส่งข้อความ, เสียงและรูปภาพ ด้วยลูกเล่นของแอพฯ ที่มีเสน่ห์การใช้งานที่ทำให้ผู้ใช้ชื่นชอบ แถมทำงานได้อย่างดีเยี่ยม ยิ่งถ้าหากเราอยู่ในพื้นที่ที่อินเทอร์เน็ตครอบคลุม สามารถใช้ LINE คุยกันแทนโทรศัพท์ได้เลยทีเดียว อีกทั้งยังเป็นแอพฯ ที่แจกฟรี สามารถใช้งานได้บน iOS,Android และระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ถ้าพร้อมแล้วมาดาวน์โหลด LINE ไปลองใช้งานกัน ขอเตือนไว้ก่อนระวังจะติดอกติดใจจนไม่อยากวางโทรศัพท์นะจะบอกให้

Facebook

Facebook
เป็นบริการเครือข่ายสังคมที่ยังเปิดให้บริการอยู่ สำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมันเป็นชื่อที่ใช้ในการสื่อสารหรือป้ายบอกทางแก่เหล่านักศึกษาในบางมหาวิทยาลัยอเมริกัน เฟซบุ๊กก่อตั้งเมื่อวันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 โดยมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก และเพื่อนร่วมห้องภายในมหาวิทยาลัย และเหล่าเพื่อนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พร้อมโดยสมาชิกเพื่อนผู้ก่อตั้ง Eduardo Saverin, Andrew McCollum, Dustin Moskovitz และ Chris Hughes  ในท้ายที่สุดเว็บไซต์มีการเข้าชมอย่างจำกัด ทำให้เหล่านักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ภายหลังได้ขยายเพิ่มจำนวนในมหาวิทยาลัย ในพื้นที่บอสตัน ไอวีลีก และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และค่อยๆรับรองมหาวิทยาลัยอื่นต่างๆ และต่อมาก็รับรองโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยเฟซบุ๊กให้การอนุญาตให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปีทั่วโลกสามารถสมัครสมาชิกได้ภายในเว็บไซต์ โดยไม่ต้องอ้างอิงหลักฐานใด ๆ 
จากการศึกษาของเว็บ คอมพีต.คอม ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 เฟซบุ๊กถือเป็นบริการเครือข่ายสังคมที่มีคนใช้มากที่สุด เมื่อดูจากผู้ใช้ประจำรายเดือน รองลงมาคือ มายสเปซ   เอ็นเตอร์เทนเมนต์วีกลี ให้อยู่ในรายชื่อ สิ่งที่ดีที่สุดในสิ้นทศวรรษ และควอนต์แคสต์ ประเมินว่า เฟซบุ๊ก มีผู้ใช้ต่อเดือนราว 135.1 ล้านคน นับเฉพาะในสหรัฐอเมริกา 

Facebook คืออะไร

 
     facebook ยังเติบโตต่อไป จนถึงเดือนกันยายนปีพ.ศ. 2549 ก็ได้เปิดในโรงเรียนในระดับมัธยมปลาย เข้าร่วมใช้งานได้ และในเดือนถัดมา facebook ได้เพิ่มฟังค์ชั่นใหม่ โดยสามารถให้สมาชิก เอารูปภาพมาแบ่งปันกันได้ ซึ่งฟังชั่นนี้ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ในฤถูใบไม้ผลิ facebook ได้รับเงินจากการลงทุนเพิ่มอีกของ Greylock Partners, Meritech Capital พร้อมกับนักลงทุนชุดแรกคือ Accel Partners และ ปีเตอร์ ธีล เป็นจำนวนเงินถึง 25 ล้านเหรียญสหรัฐ
 
     โดยมูลค่าการประเมินมูลค่าในตอนนั้นเป็น 525 ล้านเหรียญ หลังจากนั้น facebook ได้เปิดให้องค์กรธุรกิจหรือบริษัทต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใช้งาน facebook และสร้าง network ต่าง ๆ ได้ ซึ่งในที่สุดก็องค์กรธุรกิจกว่า 20,000 แห่งได้เข้ามาใช้งาน และสุดท้ายในปีพ.ศ. 2550 facebook ก็ได้เปิดให้ทุกคนที่มีอีเมล์ ได้เข้าใช้งาน ซึ่งเป็นยุคที่คนทั่วไป ไม่ว่าเป็นใครก็สามารถเข้าไปใช้งาน facebook ได้เพียงแค่คุณมีอีเมล์เท่านั้น
 
     ในช่วงฤดูร้อนปี 2550 ครั้งนั้น Yahoo พยายามที่จะขอซื้อ facebook ด้วยวงเงินจำนวน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีรายงานว่ามาร์คได้ทำการตกลงกันด้วยวาจาไปแล้วด้วยว่า จะยอมขาย facebook ให้กับ Yahoo และเพียงแค่สองสามวันถัดมา หุ้นของ Yahoo ก็ได้พุ่งขึ้นสูงเลยทีเดียว แต่ว่าข้อเสนอซื้อได้ถูกต่อรองเหลือเพียงแค่ 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้มาร์คปฎิเสธข้อเสนอนั้นทันที ภายหลังต่อมา ทาง Yahoo ได้ลองเสนอขึ้นไปที่ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อีกครั้ง คราวนี้มาร์คปฎิเสธ Yahoo ทันที และได้รับชื่อเสียงในทางไม่ดีว่า ทำธุรกิจเป็นเด็กๆ ไปในทันที นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มาร์คปฎิเสธขอเสนอซื้อบริษัท เพราะเคยมีบริษัท Viacom ได้เคยลองเสนอซื้อ facebook ด้วยวงเงิน 750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และถูกปฎิเสธไปแล้วในเดือนมีนาคมปี 2550
 
     มีข่าวอีกกระแสหนึ่งที่ไม่ ค่อยดีสำหรับ facebook ที่ได้มีการโต้เถียงกันอย่างหนัก กับ Social Network ที่ชื่อ ConnectU โดยผู้ก่อตั้ง ConnectU ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กที่ฮาเวิร์ด ได้กล่าวหาว่ามาร์คได้ขโมยตัว source code สำหรับ facebook ไปจากตน โดยกรณีนี้ได้มีเรื่องมีราวไปถึงชั้นศาล และตอนนี้ได้แก้ไขข้อพิพาทกันไปเรียบร้อยแล้ว
 Facebook เป็น social network ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งถ้าในต่างประเทศ ความยิ่งใหญ่ของ facebook มีมากกว่า Hi5 เสียอีก แต่ในประเทศไทยของเรา Hi5 ยังครองความเป็นเจ้าในด้าน social network ในหมู่คนไทย
 

ประวัติความเป็นมาของ facebook

 
ประวัติfacebook
 
     Mark Zuckerburg ได้เปิดตัวเว็บไซต์ facebook เมื่อปี 2548
 
     เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ปี พุทธศักราช 2548 Mark Zuckerburg ได้เปิดตัวเว็บไซต์ facebook ซึ่งเป็นเว็บประเภท social network ซึ่งตอนนั้น เปิดให้เข้าใช้เฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดเท่านั้น และเว็บนี้ก็ดังขึ้นมาในชั่วพริบตา เพียงเปิดตัวได้สองสัปดาห์ ครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ก็สมัครเป็นสมาชิก facebook เพื่อเข้าใช้งานกันอย่างล้นหลาม และเมื่อทราบข่าวนี้ มหาวิทยาลัยอื่นๆ ในเขตบอสตั้นก็เริ่มมีความต้องการ และอยากขอเข้าใช้งาน facebook บ้างเหมือนกัน มาร์คจึงได้ชักชวนเพื่อของเค้าที่ชื่อ Dustin Moskowitz และ Christ Hughes เพื่อช่วยกันสร้าง facebook และเพียงระยะเวลา 4 เดือนหลังจากนั้น facebookจึงได้เพิ่มรายชื่อและสมาชิกของมหาวิทยาลัยอีก 30 กว่าแห่ง

Facebook คืออะไร  ประวัติ Facebook

     ไอเดีย เริ่มแรกในการตั้งชื่อ facebook นั้นมาจากโรงเรียนเก่าในระดับมัธยมปลายของมาร์ค ที่ชื่อฟิลิปส์ เอ็กเซเตอร์ อะคาเดมี่ โดยที่โรงเรียนนี้ จะมีหนังสืออยู่หนึ่งเล่มที่ชื่อว่า The Exeter Face Book ซึ่งจะส่งต่อ ๆ กันไปให้นักเรียนคนอื่น ๆ ได้รู้จักเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ซึ่ง face book นี้จริงๆ แล้วก็เป็นหนังสือเล่มหนึ่งเท่านั้น จนเมื่อวันหนึ่ง มาร์คได้เปลี่ยนแปลงและนำมันเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ต

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์

ประวัติความเป็นมาของโทรศัพท์ 
        ประเทศไทยได้นำโทรศัพท์เข้ามาใช้ครั้งแรกเพื่อการติดต่อสื่อารใน พ.ศ. 2424  สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 5  โดยกรมกลาโหมหรือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน ได้นำเครื่องมาติดตั้งที่กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรปราการ แห่งละเครื่อง มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในการแจ้งข่าวเรือเข้า-ออก  ต่อมาปี 2478  ได้มีการสั่งซื้อเครื่องชุมสายอัตโนมัติแบบ Step-by-step จากประเทศอังกฤษ  โดยติดตั้งไว้ที่วัดเลียบและที่ชุมสายบางรัก และในปี พ.ศ. 2538  ได้มีชุมสายโทรศัพท์ทั่วประเทศ
ประเภทของบริการทางโทรศัพท์
1.      บริการทางไกลภายในประเทศ  สามารถใช้บริการได้ 2 วิธีคือ
1.1        โทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ
                 กดรหัสทางไกล + เลขหมายปลายทาง
                 เช่น กด 056 + 202422
1.2        โทรศัพท์ทางไกลแบบพนักงานต่อ
                 กดหมายเลข 101 เพื่อติดต่อพนักงาน อัตราค่าบริการ
                 กลางวันครั้งละ 20 บาท  กลางคืนครั้งละ 30 บาท
       2.      บริการ Y-Tel 1234 คือ บริการโทรศัพท์ทางไกลราคาประหยัด จะลดราคา 30 - 70%  วิธีการใช้คือ กด 1234
                            รหัสจังหวัด + หมายเลขปลายทาง
       3.      บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศผ่านรหัส 007  ซึ่งได้เปิดให้บริการ 4 ประเทศคือ ลาว กัมพูชา พม่า
                    และมาเลเซีย  ใช้บริการโดยกด 007 + รหัสประเทศ + รหัสเมือง/รหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ + เลขหมายปลาย
                    ทาง
                4.      บริการโทรตรงกลับบ้าน (Home Direct and Thailand Direct Internation Operator Direct Connection) 
                            คือบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศแบบเก็บเงินปลายทาง (Collect Call) ทำได้โดยการกดสายตรง   
                            จากโทรศัพท์ และให้พนักงานรับสายเป็นผู้ต่อให้
        5.      บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศเก็บเงินปลายทางอัตโนมัติ (International Freephone service) โดยผู้รับสาย
                            จะเป็นผู้จ่ายเงินให้ บริการนี้ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ และสามารถเรียกจากไทยไป   
                            ยังต่างประเทศหรือเรียกจากต่างประเทศมายังเมืองไทย
                6.      บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ  แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
            6.1        ระบบเรียกตรงอัตโนมัติ (ISD-International Subscriber Dialing) คือ การโทรไปยังประเทศปลายทางด้วยตนเอง  โดยกดรหัส 001 + รหัสประเทศ + รหัสเมือง + เลขหมายปลายทาง  อัตราค่าบริการคิดตามระยะทาง
6.2        ระบบเรียกผ่านพนักงานรับสาย (Operator Assisted Call) คือ บริการโทรศัพท์ โดยกดรหัส 100 และพนักงานจะเป็นผู้ต่อเลขหมายโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศให้
6.3        ระบบใช้บัตรโทรศัพท์  แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
                    6.3.1          บัตรเทเลการ์ด (Telecard Overseas Call) สามารถโทรตรงอัตโนมัติจากเครื่องโทร
                                            ศัพท์ธรรมดาทั่วไป ถึงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก  ซึ่งการบริการจะเรียกเก็บเงินจากผู้ถือ
                                            บัตรด้วยการหักโอนบัญชีเป็นรายเดือนเท่านั้น
                    6.3.2          บัตรโทรศัพท์ (Card Phone)  สามารถโทรตรงจากเครื่องโทรศัพท์ไปยังในประเทศ
                                            และ    ต่างประเทศได้
                     6.3.3         บัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (ThaiCard) สามารถโทรไปต่างประเทศได้กว่า 10
                                            ประเทศ ทั่วโลก  โดยไม่ต้องสอดบัตรลงในเครื่อง และเมื่อใช้จนหมดมูลค่าบัตรแล้วจะ
                                            ไม่สามารถใช้ได้อีก
7.      บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
8.      บริการโทรศัพท์ติดตามตัว
9.      บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เฉพาะกลุ่ม (Trucked Mobile Radio)
       10.    บริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) รับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล และภาพได้พร้อมกันโดยอัตโนมัติ
       11.    บริการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference)  สามารถส่งภาพเคลื่อนไหวเหมือนจริงได้
       12.    บริการระบบสื่อสารเพื่อธุรกิจผ่านดาวเทียม (ISBN) สำหรับธุรกิจที่ต้องการส่งข้อมูลเป็นหลัก และต้องการ
                    ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
       13.    บริการสื่อสารข้อมูลด้วยระบบ ดาตาเน็ต (Datakit Virtual Circuit Switch) สามารถส่งข้อมูลและเสียงพร้อม   
                    กันได้โดยผ่านคู่สายโทรศัพท์
ประโยชน์ของโทรศัพท์
1.      ประหยัดเวลา
2.      ประหยัดค่าใช้จ่าย
3.      ช่วยให้เกิดความรวดเร็ว
 หลักในการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์
        ต้องมีมารยาทที่ดีในการติดต่อโต้ตอบทางโทรศัพท์
1.      หลักการรับโทรศัพท์
2.      หลักการต่อโทรศัพท์

หลักการรับโทรศัพท์
1.      เตรียมพร้อม (Ready) 
คือ เตรียมเลขหมายที่ต้องการติดต่อ สมุดจด และสมุดจด
ต้องแบ่งตามหมวดหมู่รายชื่อ เพื่อการค้นหาง่าย ประการสำคัญหากไม่อยู่โต๊ะทำงานควรแจ้งให้เพื่อนร่วมงานทราบทุกครั้ง
2.      การตอบรับ (Respond)
ควรรับสายทันทีในกริ่งที่ 2-3  และถือกระบอกพูดให้ตรง
และห่างจากปากครึ่งนิ้ว พร้อมกล่าวคำทักทายด้วยคำว่า "สวัสดี" ตามด้วยชื่อหน่วยงาน  หรือชื่อตนเอง  หรือเลขหมายโทรศัพท์  ควรยกหูด้วยมือซ้าย  มือขวาถือปากกาสำหรับจดข้อความ
        3.  การตั้งใจฟัง (Attend)
คือ สามารถจับใจความและทวนสิ่งที่รับทราบได้อย่างถูกต้อง  โดยไม่พูดแทรก หรือตัดบา สรุปความในขณะที่ยังพูดไม่จบ
        4. การตัดสินใจ (Decide)
                คือ การตัดสินใจรับเรื่องดำเนินการเองหรือโอนสายให้แก่ผู้มีอำนาจหรือผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจ
        5.  การแนะนำ (Advise)
                แสดงให้เขารู้ว่าเราเต็มใจจะให้ความช่วยเหลือโดยการให้คำแนะตำต่าง ๆ
        6.  การจบการสนทนา (Ring Off)
                ต้องแน่ใจว่าการสื่อสารข้อความทั้งสองฝ่ายเข้าใจถูกต้องตรงกัน ก่อนวางสายควรกล่าวคำว่า สวัสดี และควรให้เขาเป็นผู้วางสายก่อน จากนั้นให้วางหูอย่างสุภาพและแผ่วเบา
หลักการต่อโทรศัพท์
        1.  การเตรียมพร้อม (Ready)
                เตรียมเลขหมายที่ต้องการติดต่อ และวัตถุประสงค์ของการติดต่อ ตลอดจนเตรียมคำถามหรือคำตอบต่าง ๆ ไว้ให้เรียบร้อย
        2.  ความตั้งใจ (Attend)
                หากโทรไปแล้วสายไม่ว่างให้ทดลองหมุนใหม่อีกครั้ง ถ้ายังมีสัญญาณไม่ว่างอีกควรรอเวลาสักครู (10 นาที) แล้วหมุนใหม่
        3.  การสื่อความหมาย (Deliver)
                สามารถถ่ายทอดข้อความให้ผู้รับฟังได้อย่างเป็นที่พอใจ
        4.  การแจ้งข้อมูล (Inform)
                บอกให้เขาทราบว่าจะสามารถดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ ให้เขาได้อย่างไรบ้าง
        5.  การจบการสนทนา (Ring Off)
                ควรจบด้วยคำพูดที่สุภาพ มีจังหวะการพูดที่ทำให้ปลายสายทราบว่าหมดธุระในการติดต่อแล้ว และควรเอ่ยชื่อคู่สนทนาเมื่อมีโอกาส พร้อมกล่าวคำว่า ขอบคุณ และ สวัสดี ก่อนวางสายอย่างสุภาพและแผ่วเบา
 ข้อควรระวังในการต่อโทรศัพท์
·    ควรพูดด้วยเสียงดังพอประมาณ
·    เว้นช่วงระยะการฟังเป็นครั้งคราว
·    ไม่ควรขบเคี้ยวอาหาร หมากฝรั่ง หรือคาบสิ่งใดขณะพูด
·    ไม่ควรถอนหายใจเสียงดัง
·    ไม่พูดเรื่องส่วนตัว เรื่องไม่สำคัญ
·    ไม่ควรพูดกับผู้อื่นขณะที่อีกฝ่ายถือสายฟังอยู่
·    เมื่อต่อผิดควรกล่าวคำขอโทษ

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การสื่อสารข้อมูลผ่านระบบอนเทอร์เน็ต

1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์     (E-mail)                                                                                                                            เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมาก    เนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว    ภายในระยะเวลาอันสั้น    ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตาม    นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมากเพียงเท่ากับค่าโทรศัพท์เท่านั้น
 2 . การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม     (World Wide Web: www.)                                                      เป็นการสื่อสารที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต    ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลแบบกราฟิกได้    การใช้ World Wide Web     เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุด    โดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป    เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้    นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย    ข้อมูลต่างๆ    จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติของ     Hypertext Link  การที่จะเข้าไปอ่านข้อมูลเหล่านี้ได้    ผู้ใช้จะต้องมี Web Browser     ซึ่งนิยมใช้กันในขณะนี้ได้แก่     Netscape Navigator และ Internet Explorer     ปัจจุบันได้มีการประยุกต์กิจกรรมอื่นไว้ภายใน     World Wide Web ด้วย อาทิ การโฆษณากิจกรรม    รวมถึงความบันเทิงต่างๆ เช่น    การดูหนังฟังเพลง    และชมรายการต่างๆ    ทางสถานีโทรทัศน์
3. การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP)                                                                                          เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต    โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่างๆ    จากแหล่งข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่    ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้     Server ของตนทำหน้าที่เป็น FTP Site     เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ    สำหรับให้บริการ    การเข้าไปขอถ่ายโอนข้อมูลนั้น    ผู้ใช้ต้องทราบชื่อเครื่องที่ตั้งเป็น     FTP Server     และสิทธิที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำ     FTP
4.  การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (Usenet)                                                                                                                              มีที่มาจากกระดานประกาศข่าว    หรือ Bulletin Board กล่าวคือ    ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน    จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท    เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น    หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ    ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตนเข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต    โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศคือ     News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ    ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง    หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้    สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูลตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน
5.  การเข้าใช้เครื่องระยะไกล Telenet                                                                                                                     เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น    ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล    โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่องนั้น    เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้    หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้    แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account     และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวได้    ส่วนคำสั่งในการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้
6. การสนทนาผ่านเครือข่าย    หรือ Chat)                                                                                                                        เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือ สามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์    สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based     โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk     ซึ่งเป็นการพิมพ์โต้ตอบระหว่างคนสองคน     Internet phone     เป็นการคุยกันด้วยเสียงแบบเดียวกับโทรศัพท์    และ IRC (Internet Relay Chat)
7.     บริการส่งข้อความทางอินเตอร์เน็ต                                                                                                                       เป็นการส่งข้อความในรูปแบบของข้อความสั้นๆ     (Short Message)     ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้ส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์สื่อสารประเภทไร้สาย    ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่    หรือเพจเจอร์ เป็นต้น
8. Remote Login                                                                                                                                     เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถติดต่อผ่าน     Telenetเข้ากับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล    และคอมพิวเตอร์นั้นค้นหาสารสนเทศ    แหล่งบริการสารสนเทศ เช่น    รายการบัตรของห้องสมุด (Online Public Access    Catalog: OPAC)     ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดแต่ละแห่งทั่วโลกจัดทำขึ้น    และเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย