ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของฉัน
สวิวดาวค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์

ประวัติความเป็นมาของโทรศัพท์ 
        ประเทศไทยได้นำโทรศัพท์เข้ามาใช้ครั้งแรกเพื่อการติดต่อสื่อารใน พ.ศ. 2424  สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 5  โดยกรมกลาโหมหรือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน ได้นำเครื่องมาติดตั้งที่กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรปราการ แห่งละเครื่อง มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในการแจ้งข่าวเรือเข้า-ออก  ต่อมาปี 2478  ได้มีการสั่งซื้อเครื่องชุมสายอัตโนมัติแบบ Step-by-step จากประเทศอังกฤษ  โดยติดตั้งไว้ที่วัดเลียบและที่ชุมสายบางรัก และในปี พ.ศ. 2538  ได้มีชุมสายโทรศัพท์ทั่วประเทศ
ประเภทของบริการทางโทรศัพท์
1.      บริการทางไกลภายในประเทศ  สามารถใช้บริการได้ 2 วิธีคือ
1.1        โทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ
                 กดรหัสทางไกล + เลขหมายปลายทาง
                 เช่น กด 056 + 202422
1.2        โทรศัพท์ทางไกลแบบพนักงานต่อ
                 กดหมายเลข 101 เพื่อติดต่อพนักงาน อัตราค่าบริการ
                 กลางวันครั้งละ 20 บาท  กลางคืนครั้งละ 30 บาท
       2.      บริการ Y-Tel 1234 คือ บริการโทรศัพท์ทางไกลราคาประหยัด จะลดราคา 30 - 70%  วิธีการใช้คือ กด 1234
                            รหัสจังหวัด + หมายเลขปลายทาง
       3.      บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศผ่านรหัส 007  ซึ่งได้เปิดให้บริการ 4 ประเทศคือ ลาว กัมพูชา พม่า
                    และมาเลเซีย  ใช้บริการโดยกด 007 + รหัสประเทศ + รหัสเมือง/รหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ + เลขหมายปลาย
                    ทาง
                4.      บริการโทรตรงกลับบ้าน (Home Direct and Thailand Direct Internation Operator Direct Connection) 
                            คือบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศแบบเก็บเงินปลายทาง (Collect Call) ทำได้โดยการกดสายตรง   
                            จากโทรศัพท์ และให้พนักงานรับสายเป็นผู้ต่อให้
        5.      บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศเก็บเงินปลายทางอัตโนมัติ (International Freephone service) โดยผู้รับสาย
                            จะเป็นผู้จ่ายเงินให้ บริการนี้ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ และสามารถเรียกจากไทยไป   
                            ยังต่างประเทศหรือเรียกจากต่างประเทศมายังเมืองไทย
                6.      บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ  แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
            6.1        ระบบเรียกตรงอัตโนมัติ (ISD-International Subscriber Dialing) คือ การโทรไปยังประเทศปลายทางด้วยตนเอง  โดยกดรหัส 001 + รหัสประเทศ + รหัสเมือง + เลขหมายปลายทาง  อัตราค่าบริการคิดตามระยะทาง
6.2        ระบบเรียกผ่านพนักงานรับสาย (Operator Assisted Call) คือ บริการโทรศัพท์ โดยกดรหัส 100 และพนักงานจะเป็นผู้ต่อเลขหมายโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศให้
6.3        ระบบใช้บัตรโทรศัพท์  แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
                    6.3.1          บัตรเทเลการ์ด (Telecard Overseas Call) สามารถโทรตรงอัตโนมัติจากเครื่องโทร
                                            ศัพท์ธรรมดาทั่วไป ถึงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก  ซึ่งการบริการจะเรียกเก็บเงินจากผู้ถือ
                                            บัตรด้วยการหักโอนบัญชีเป็นรายเดือนเท่านั้น
                    6.3.2          บัตรโทรศัพท์ (Card Phone)  สามารถโทรตรงจากเครื่องโทรศัพท์ไปยังในประเทศ
                                            และ    ต่างประเทศได้
                     6.3.3         บัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (ThaiCard) สามารถโทรไปต่างประเทศได้กว่า 10
                                            ประเทศ ทั่วโลก  โดยไม่ต้องสอดบัตรลงในเครื่อง และเมื่อใช้จนหมดมูลค่าบัตรแล้วจะ
                                            ไม่สามารถใช้ได้อีก
7.      บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
8.      บริการโทรศัพท์ติดตามตัว
9.      บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เฉพาะกลุ่ม (Trucked Mobile Radio)
       10.    บริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) รับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล และภาพได้พร้อมกันโดยอัตโนมัติ
       11.    บริการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference)  สามารถส่งภาพเคลื่อนไหวเหมือนจริงได้
       12.    บริการระบบสื่อสารเพื่อธุรกิจผ่านดาวเทียม (ISBN) สำหรับธุรกิจที่ต้องการส่งข้อมูลเป็นหลัก และต้องการ
                    ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
       13.    บริการสื่อสารข้อมูลด้วยระบบ ดาตาเน็ต (Datakit Virtual Circuit Switch) สามารถส่งข้อมูลและเสียงพร้อม   
                    กันได้โดยผ่านคู่สายโทรศัพท์
ประโยชน์ของโทรศัพท์
1.      ประหยัดเวลา
2.      ประหยัดค่าใช้จ่าย
3.      ช่วยให้เกิดความรวดเร็ว
 หลักในการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์
        ต้องมีมารยาทที่ดีในการติดต่อโต้ตอบทางโทรศัพท์
1.      หลักการรับโทรศัพท์
2.      หลักการต่อโทรศัพท์

หลักการรับโทรศัพท์
1.      เตรียมพร้อม (Ready) 
คือ เตรียมเลขหมายที่ต้องการติดต่อ สมุดจด และสมุดจด
ต้องแบ่งตามหมวดหมู่รายชื่อ เพื่อการค้นหาง่าย ประการสำคัญหากไม่อยู่โต๊ะทำงานควรแจ้งให้เพื่อนร่วมงานทราบทุกครั้ง
2.      การตอบรับ (Respond)
ควรรับสายทันทีในกริ่งที่ 2-3  และถือกระบอกพูดให้ตรง
และห่างจากปากครึ่งนิ้ว พร้อมกล่าวคำทักทายด้วยคำว่า "สวัสดี" ตามด้วยชื่อหน่วยงาน  หรือชื่อตนเอง  หรือเลขหมายโทรศัพท์  ควรยกหูด้วยมือซ้าย  มือขวาถือปากกาสำหรับจดข้อความ
        3.  การตั้งใจฟัง (Attend)
คือ สามารถจับใจความและทวนสิ่งที่รับทราบได้อย่างถูกต้อง  โดยไม่พูดแทรก หรือตัดบา สรุปความในขณะที่ยังพูดไม่จบ
        4. การตัดสินใจ (Decide)
                คือ การตัดสินใจรับเรื่องดำเนินการเองหรือโอนสายให้แก่ผู้มีอำนาจหรือผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจ
        5.  การแนะนำ (Advise)
                แสดงให้เขารู้ว่าเราเต็มใจจะให้ความช่วยเหลือโดยการให้คำแนะตำต่าง ๆ
        6.  การจบการสนทนา (Ring Off)
                ต้องแน่ใจว่าการสื่อสารข้อความทั้งสองฝ่ายเข้าใจถูกต้องตรงกัน ก่อนวางสายควรกล่าวคำว่า สวัสดี และควรให้เขาเป็นผู้วางสายก่อน จากนั้นให้วางหูอย่างสุภาพและแผ่วเบา
หลักการต่อโทรศัพท์
        1.  การเตรียมพร้อม (Ready)
                เตรียมเลขหมายที่ต้องการติดต่อ และวัตถุประสงค์ของการติดต่อ ตลอดจนเตรียมคำถามหรือคำตอบต่าง ๆ ไว้ให้เรียบร้อย
        2.  ความตั้งใจ (Attend)
                หากโทรไปแล้วสายไม่ว่างให้ทดลองหมุนใหม่อีกครั้ง ถ้ายังมีสัญญาณไม่ว่างอีกควรรอเวลาสักครู (10 นาที) แล้วหมุนใหม่
        3.  การสื่อความหมาย (Deliver)
                สามารถถ่ายทอดข้อความให้ผู้รับฟังได้อย่างเป็นที่พอใจ
        4.  การแจ้งข้อมูล (Inform)
                บอกให้เขาทราบว่าจะสามารถดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ ให้เขาได้อย่างไรบ้าง
        5.  การจบการสนทนา (Ring Off)
                ควรจบด้วยคำพูดที่สุภาพ มีจังหวะการพูดที่ทำให้ปลายสายทราบว่าหมดธุระในการติดต่อแล้ว และควรเอ่ยชื่อคู่สนทนาเมื่อมีโอกาส พร้อมกล่าวคำว่า ขอบคุณ และ สวัสดี ก่อนวางสายอย่างสุภาพและแผ่วเบา
 ข้อควรระวังในการต่อโทรศัพท์
·    ควรพูดด้วยเสียงดังพอประมาณ
·    เว้นช่วงระยะการฟังเป็นครั้งคราว
·    ไม่ควรขบเคี้ยวอาหาร หมากฝรั่ง หรือคาบสิ่งใดขณะพูด
·    ไม่ควรถอนหายใจเสียงดัง
·    ไม่พูดเรื่องส่วนตัว เรื่องไม่สำคัญ
·    ไม่ควรพูดกับผู้อื่นขณะที่อีกฝ่ายถือสายฟังอยู่
·    เมื่อต่อผิดควรกล่าวคำขอโทษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น